วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แนวโน้มการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาล




แนวโน้มการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับ

ทางการพยาบาล






                        ในขณะที่โลกกำ ลังเข้าสู่ยุคดิจิตอล นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ได้มีส่วนเพียง
แค่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่วิวัฒนาการทางการแพทย์และเทคโนโลยียังช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เช่น การค้นพบยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคซึ่งเคยคร่าชีวิตผู้คนในอดีต แต่สิ่งที่ตามมาคือ ภาครัฐ ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น จากผล กระทบดังกล่าวทำ ให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุผ่านระบบบริการทางไกล (telecare) ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพที่กำ ลังได้รับความสนใจ นอกเหนือจากการรักษาผ่านทางไกล (telemedicine) และระบบแพทย์ทางไกล (telehealth) อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของผู้สูงอายุ เช่น ค่ารักษาพยาบาล และในส่วนของรัฐบาล เช่น การขยายหรือการสร้างโรงพยาบาลที่สำ คัญจะนำ ไปสู่การป้องกันหรือส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้มากขึ้น แต่เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบทางไกลเป็นนวัตกรรมและยังอยู่ในช่วงทดลองใช้ในหลายประเทศ บทความนี้จึงมุ่งเน้นที่จะอธิบายถึงนวัตกรรมดังกล่าว และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำ ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะไกลมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย



                                   

                 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 





ดังรูปที่ 1.16



                       ความเป็นไปได้ในการนำการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลมาใช้ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย การนำ นวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลมาใช้เพื่อเพิ่ม
คุณภาพชีวิตและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าอาจมีอุปสรรคหลายประการที่
ทำ ให้ยังไม่สามารถนำ นวัตกรรมนี้มาปรับใช้ได้ในปัจจุบัน เนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอ
เช่น การขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ไม่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ
จากรัฐบาล และการขาดแคลนเทคโนโลยีที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อีกทั้งด้านนโยบายยังไม่มีการตระหนักถึงเรื่องการนำ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว (long term care)และการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (home health care)ประกอบกับวัฒนธรรมของไทยมีวิถีชีวิตให้ลูกหลาน
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการดูแลผู้สูงอายุ จึงไม่เกิดแรงผลักดันที่จะทำ ให้ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุผ่าน
ระบบบริการทางไกล



                                   
                           
                          แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก ทำให้รัฐบาลในหลายประเทศต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุผ่านระบบทางไกล เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกคิดขึ้นเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ เช่น ค่ารักษาพยาบาลในระยะพักฟื้น และในส่วนของรัฐบาล เช่น การขยายหรือสร้างโรงพยาบาล แต่อุปสรรคที่สำคัญของการนำ การดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกล คือ การขาดความเข้าใจตัวระบบของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอีกทั้งทัศนคติของผู้ใช้บริการต่อการดูแลสุขภาพ ผ่านระบบทางไกลดังนั้น เพื่อให้การใช้นวัตกรรมการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ด้านเทคโนโลยี ระบบต้องถูกออกแบบมาให้เข้าใจได้ง่ายสามารถสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใช้บริการและสร้างความคุ้นเคยว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ วันอีกทั้งยังต้องสร้างความเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลแก่ผู้ให้บริการให้มากขึ้น และเพื่อลดอุปสรรคของการนำ ระบบนี้มาใช้ในประเทศ ภาครัฐควรที่จะกำ หนดยุทธศาสตร์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและการให้บริการสุขภาพผ่านระบบทางไกล ที่มีต้นทุนไม่สูงจนเกินไป สำหรับในประเทศไทย นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ภาครัฐต้องพิจารณา และดำเนินการไปพร้อมกัน ๆ คือ การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรในสายวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการแพทย์และโครงสร้างนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวซึ่งหากทำได้การดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางเลือกที่สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทยได้




ตัวอย่างการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาล



ICT Daily TAPE 04 _การแพทย์ทางไกลผ่าน VDO Call



What is Telemedicine




แสดงความคิดเห็นต่อระบบ ICT

              ข้าพเจ้า คิดว่าระบบ ICT  มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงานในองค์กรการบริหารและการให้บริการทางการพยาบาลในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่เทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบ ICT มีความสำคัญมาก ในการช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและ ช่วยลดภาระด้านต่างๆขององค์กร เช่น ระยะเวลาการติดต่อสื่อสาร ลดต้นทุนค่าเอกสาร เป็นต้น นอกจากผลดีในด้านต่าง ๆของระบบ ICT แล้วองค์กรยังต้องคำนึงถึงผลเสียที่ตามมาจากการใช้ระบบ ICTด้วยเช่นกัน เพราะไม่อย่างนั้นแล้วแทนที่ระบบจะช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ อาจจะกลายเป็นอุปสรรค์ทำให้องค์กรเกิดปัญหาตามมาในภายหลังอย่างมากมายเช่นกัน ดังนั้นในการใช้งานระบบ ICT องค์กรควรที่จะศึกษาและวางแผนถึงผลกระทบจากการใช้ระบบ ICT ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้องค์กรสามารถให้งานระบบ ICT ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด







นางสาวอธิติยาพร  พรมสุข  นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 
รหัสนักศึกษา 57122230053




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น