วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แนวโน้มการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาล




แนวโน้มการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับ

ทางการพยาบาล






                        ในขณะที่โลกกำ ลังเข้าสู่ยุคดิจิตอล นวัตกรรมและเทคโนโลยีไม่ได้มีส่วนเพียง
แค่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ชีวิตมนุษย์เท่านั้น แต่วิวัฒนาการทางการแพทย์และเทคโนโลยียังช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เช่น การค้นพบยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคซึ่งเคยคร่าชีวิตผู้คนในอดีต แต่สิ่งที่ตามมาคือ ภาครัฐ ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น จากผล กระทบดังกล่าวทำ ให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุผ่านระบบบริการทางไกล (telecare) ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพที่กำ ลังได้รับความสนใจ นอกเหนือจากการรักษาผ่านทางไกล (telemedicine) และระบบแพทย์ทางไกล (telehealth) อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของผู้สูงอายุ เช่น ค่ารักษาพยาบาล และในส่วนของรัฐบาล เช่น การขยายหรือการสร้างโรงพยาบาลที่สำ คัญจะนำ ไปสู่การป้องกันหรือส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุได้มากขึ้น แต่เนื่องจากการดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบทางไกลเป็นนวัตกรรมและยังอยู่ในช่วงทดลองใช้ในหลายประเทศ บทความนี้จึงมุ่งเน้นที่จะอธิบายถึงนวัตกรรมดังกล่าว และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำ ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะไกลมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย



                                   

                 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้นแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข 





ดังรูปที่ 1.16



                       ความเป็นไปได้ในการนำการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลมาใช้ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย การนำ นวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลมาใช้เพื่อเพิ่ม
คุณภาพชีวิตและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่าอาจมีอุปสรรคหลายประการที่
ทำ ให้ยังไม่สามารถนำ นวัตกรรมนี้มาปรับใช้ได้ในปัจจุบัน เนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอ
เช่น การขาดแคลนบุคลากรทางด้านการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ไม่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณ
จากรัฐบาล และการขาดแคลนเทคโนโลยีที่ใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อีกทั้งด้านนโยบายยังไม่มีการตระหนักถึงเรื่องการนำ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว (long term care)และการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (home health care)ประกอบกับวัฒนธรรมของไทยมีวิถีชีวิตให้ลูกหลาน
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการดูแลผู้สูงอายุ จึงไม่เกิดแรงผลักดันที่จะทำ ให้ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุผ่าน
ระบบบริการทางไกล



                                   
                           
                          แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุทั่วโลก ทำให้รัฐบาลในหลายประเทศต้องแบกรับภาระด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุผ่านระบบทางไกล เป็นหนึ่งในนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกคิดขึ้นเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ เช่น ค่ารักษาพยาบาลในระยะพักฟื้น และในส่วนของรัฐบาล เช่น การขยายหรือสร้างโรงพยาบาล แต่อุปสรรคที่สำคัญของการนำ การดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกล คือ การขาดความเข้าใจตัวระบบของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอีกทั้งทัศนคติของผู้ใช้บริการต่อการดูแลสุขภาพ ผ่านระบบทางไกลดังนั้น เพื่อให้การใช้นวัตกรรมการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ด้านเทคโนโลยี ระบบต้องถูกออกแบบมาให้เข้าใจได้ง่ายสามารถสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ใช้บริการและสร้างความคุ้นเคยว่าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ วันอีกทั้งยังต้องสร้างความเข้าใจในเรื่องของนวัตกรรมการดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลแก่ผู้ให้บริการให้มากขึ้น และเพื่อลดอุปสรรคของการนำ ระบบนี้มาใช้ในประเทศ ภาครัฐควรที่จะกำ หนดยุทธศาสตร์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและการให้บริการสุขภาพผ่านระบบทางไกล ที่มีต้นทุนไม่สูงจนเกินไป สำหรับในประเทศไทย นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว สิ่งที่ภาครัฐต้องพิจารณา และดำเนินการไปพร้อมกัน ๆ คือ การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรในสายวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ เทคโนโลยีทางการแพทย์และโครงสร้างนโยบายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวซึ่งหากทำได้การดูแลสุขภาพผ่านระบบทางไกลจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางเลือกที่สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทยได้




ตัวอย่างการใช้สารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาล



ICT Daily TAPE 04 _การแพทย์ทางไกลผ่าน VDO Call



What is Telemedicine




แสดงความคิดเห็นต่อระบบ ICT

              ข้าพเจ้า คิดว่าระบบ ICT  มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดำเนินงานในองค์กรการบริหารและการให้บริการทางการพยาบาลในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่เทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบ ICT มีความสำคัญมาก ในการช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและ ช่วยลดภาระด้านต่างๆขององค์กร เช่น ระยะเวลาการติดต่อสื่อสาร ลดต้นทุนค่าเอกสาร เป็นต้น นอกจากผลดีในด้านต่าง ๆของระบบ ICT แล้วองค์กรยังต้องคำนึงถึงผลเสียที่ตามมาจากการใช้ระบบ ICTด้วยเช่นกัน เพราะไม่อย่างนั้นแล้วแทนที่ระบบจะช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ อาจจะกลายเป็นอุปสรรค์ทำให้องค์กรเกิดปัญหาตามมาในภายหลังอย่างมากมายเช่นกัน ดังนั้นในการใช้งานระบบ ICT องค์กรควรที่จะศึกษาและวางแผนถึงผลกระทบจากการใช้ระบบ ICT ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อให้องค์กรสามารถให้งานระบบ ICT ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด







นางสาวอธิติยาพร  พรมสุข  นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 
รหัสนักศึกษา 57122230053




วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558



          การประยุกต์ใช้ ICT ทางการพยาบาล




ICT คืออะไร...






  • Information - สารสนเทศ, สารนิเทศ, ในบางครั้งหมายถึงข้อมูล
  • Communication - การสื่อสาร
  • Technology - เทคโนโลยี

  •  
                                                                                     http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/lesson05/L05_his.pdf 
    ICT หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ สรุป คำนวณ จัดเก็บ ค้นคืน จัดทำสำเนา และแพร่กระจาย หรือสื่อสาร ข้อมูล ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้

                                             
                                                                   http://ict-pr.kkn5.go.th/forum.php?mod=viewthread4996-7

    สารสนเทศทางการพยาบาล ( Nursing  Information )  คือ การใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์  ความรู้ทางด้านสารสนเทศ  และความรู้ทางด้านการพยาบาล  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติพยาบาล  การบริการสุขภาพ และการบริหารการพยาบาล  สารสนเทศทางการพยาบาลต้องมีลักษณะสำคัญ  คือ เนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับการพยาบาล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยจัดการข้อมูลสื่อสาร  หรือการดัดแปลงข้อมูลทางการพยาบาล

    http://ict-pr.kkn5.go.th/forum.php?mod=viewthread&tid=62

    คุณลักษณะที่ดีของระบบสารสนเทศในการบริหารการพยาบาล
             
    ระบบสารสนเทศในการบริหารที่ดี  ควรมีลักษณะ  10 ประการ  คือ
    1.พึงระลึกว่าสารสนเทศมิใช่ข้อมูล จึงควรทำการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และเสนอในลักษณะของสารสนเทศเพื่อสามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในการบริหาร
    2.ความเกี่ยวพันของสารสนเทศ ( Relevance ) สารสนเทศที่จะรวบรวม ควรเป็นสารสนเทศที่เกี่ยวพันกัน หรือสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้ 
    3.ความไวของสารสนเทศ ( Sensitive ) สารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหาร จะต้องมีความไวสามารถบ่งบอกหรือแสดงความหมายในสิ่งที่ต้องการทราบได้ถูกต้อง 
    4.ความถูกต้องเที่ยงตรงของสารสนเทศ ( Unbias ) สารสนเทศที่ได้จากการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการนำเสนอ ควรถูกต้องและเที่ยงตรงต่อความเป็นจริง มิใช่เพียงเพื่อให้ผู้บริหารพึงพอใจ 
    5.ลักษณะเบ็ดเสร็จของสารสนเทศ หรือการนำเสนอสารสนเทศ ควรอยู่ในลักษณะที่รวบรวมสิ่งสำคัญๆ สามารถตรวจสอบหรือพิจารณาโดยผู้บริหารได้โดยง่ายหรือง่ายต่อความเข้าใจ 
    6.เวลาที่เหมาะสมของสารสนเทศ สารสนเทศที่ได้รับการเก็บรวบรวม วิเคราะห์และจัดเตรียมจะต้อง ทันเวลาในการที่จะต้องใช้งาน 
    7.สารสนเทศเพื่อเน้นการดำเนินการ ( Action Oriented ) สารสนเทศควรจะได้รับการวิเคราะห์ ในลักษณะที่สนับสนุนกระบวนการบริหาร การวินิจฉัยสั่งการหรือการดำเนินการต่างๆในอนาคต 
    8.รูปแบบลักษณะเดียวกันของสารสนเทศ ( Uniformity ) สารสนเทศที่ดีควรจะมีลักษณะที่คล้ายคลึง มีรูปแบบเดียวกัน สามารถเปรียบเทียบใช้สารสนเทศร่วมกันได้อย่างมีมาตรฐานเดียวกัน 
    9.สารสนเทศเพื่อเป้าหมายการปฏิบัติการ ( Performance Target ) สารสนเทศควรได้รับการกำหนด และเก็บรวบรวมโดยอาศัยวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้เป็นพื้นฐาน 
    10.ความคุ้มค่าของสารสนเทศ ( Cost Effectiveness ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการรวบรวม การวิเคราะห์ และการนำเสนอสารสนเทศควรมีมากกว่าต้นทุนที่ใช้ 

     ทำไมต้องประยุกต์ใช้ ICT เข้ากับองค์กรในปัจจุบัน

    เพราะองค์กรในปัจจุบันได้จำกัดไว้ซึ่งทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการ และทรัพยากรทางด้านบุคคลในองค์กร จึงจำเป็นต้องใช้ระบบจัดการทรัพยากรต่างๆโดยการพึ่งพาระบบสารสนเทศ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยว่า องค์กรใดในปัจจุบันไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ อาทิเช่นกรมทรัพยากรที่ดิน ใช้ภาพถ่ายทางดาวเทียมในการสำรวจพื้นที่โดยไม่ต้องออกไปสำรวจพื้นที่จริงอีกทั้งยังใช้ระบบสารสนเทศภูมิสาสตร์ในการจำแนกหรือกำหนด หรือจัดสรรทรัพยากรต่างๆในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และกรมที่ดินก็สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศของกรมทรัพยากรที่ดิน ในการเข้าถึงข้อมูลว่า พื้นที่ใดต้องใช้ทำอะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสำนักงานผังเมืองก็สามารถใช้ข้อมูลชุดเดียวกันเข้ามาทำการวางผังเมืองให้แก่องค์กรดังกล่าว ดังนั้น การใช้ทรัพยากรสารสนเทศข้างต้น ทำให้ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่ายแรงและทรัพยากรที่คาดว่าจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ จึงทำให้ระบบ ICT เข้ามามีบทบาทในการบริการการจัดการทรัพยากรภายในองค์กรในทุกๆวันนี้




    ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นอย่างไรต่อองค์กร
    ปัจจุบัน เกิดการแข่งขันทางด้านธุรกิจสูง หากองค์กรใดเป็นผู้เหนือกว่าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเทคโนโลยีการจัดการ เครื่องจักร เทคโนโลยีทางการพยาบาล หรือแม้กระทั่งการสื่อสารระหว่างองค์กร ล้วนแล้วเป็นสิ่งสำคัญภายในตัวองค์กรทั้งสิ้น จึงไม่แปลกเลยว่า แต่ละองค์กร จะหันมาพึ่งพาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ระบบสมองกล ซึ่งระบบเหล่านี้มีระบบการตัดสินใจแทนมนุษย์ หรือใช้ในการคาดคะเน การคำนวณสิ่งที่เป็นไปทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่มีความถูกต้องแม่นยำ และมีศักยภาพกว่ามนุษย์ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถที่จะทำในสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ ซึ่งส่วนนี้ถือว่าเป็นข้อได้เปรียบในส่วนของเทคโนโลยีทำล้ำสมัย แต่อย่าลืมไปเสียหมดว่า เทคโนโลยีทั้งหลายนั้นล้วนเกิดมาจากมนุษย์มนุษย์นั้นได้สร้างสรรค์ผลงานทางเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการทางทรัพยากรของมนุษย์เอง มนุษย์ก็จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกในชีวิตประจำวัน


    ทำไมจึงต้องมีระบบICT ในองค์กร
    ในปัจจุบัน ระบบICT ทำให้ระบบการจัดการ และ การสื่อสารในองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก มนุษย์มีความสำคัญน้อยลง อีกทั้ง ในหน่วยองค์กรต่างๆ เริ่มใช้ทรัพยากรด้าน IT กันอย่างแพร่หลาย ระบบการสื่อสารและการจัดการด้วยคอมพิวเตอร์ถูกใช้กันมากขึ้น สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อยลงปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแข่งขันและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เป้าหมายในการจัดการทรัพยากรในองค์กรที่มีอยู่ ให้คุ้มค่าที่สุด และตัดปัญหาในการสื่อสารด้วยระบบการสื่อสารโดยใช้สื่อแบบเก่าซึ่งเป็นที่เข้าใจยาก ซึ่งการใช้ระบบการสื่อสารโดยใช้สื่อสารสนเทศรวดเร็ว และแม่นยำ อุปสรรคในการสื่อสารน้อย และเป็นที่ต้องการกว่าสื่อแบบเก่ามาก การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาองค์กร ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านความสะดวก ความคล่องตัว ความถูกต้องและความแน่นอนของข้อมูล ซึ่งถ้าหากองค์กรใดมีความได้เปรียบทางด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ทางด้าน ICT และ บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการใช้ระบบ ICT จะได้รับความได้เปรียบ เพราะสามารถลดการใช้ทรัพยากรได้อย่างง่ายดาย หากเปรียบเป็นเชิงธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการใดที่มีความรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือผู้ประกอบการได้ที่เปรียบทางการบริหารจัดการ แต่กลับมีทรัพยากรทางด้านบุคคลน้อย จึงสามารถทำให้ลดค่าใช้จ่ายต่างๆได้



    http://www.edrawsoft.com/images/network/Campus%20Network%20Overview_Full.png



    ความก้าวหน้าด้านการแพทย์และพยาบาลยุค ICT

    ความสามารถของเทคโนโลยีเครือข่าย ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถทำการผ่าตัดจากระยะไกล (telerobotic operation) เพื่อให้บริการด้านสาธารณะสุข เข้าถึงทุกท้องถิ่นในประเทศ
    จากการที่ประเทศแคนาดา ได้ทำการผ่านตัดจากระยะไกลแบบข้ามประเทศ ภายใต้โครงการสาธารณะสุขทางไกล (telemedicine) ได้เป็นผลสำเร็จเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ ที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน โดยมีเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ (Robotics) ที่นำมาผสมผสานกัน เพื่อบริการด้านการแพทย์ที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
    ในการผ่าตัดนั้นความเที่ยงตรงและความนิ่งของศัลยแพทย์นั้น นับเป็นหัวใจสำคัญในการทำการผ่าตัดผู้ป่วย แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ที่ได้ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายประกอบกับหุ่นยนต์ เข้ามาเพื่อที่จะช่วยให้แพทย์ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2546 ที่ผ่านมานี้ทางโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟในประเทศแคนาดา ได้มีการนำเทคโนโลยีการผ่าตัดจากระยะไกลมาใช้ สำหรับการผ่านตัดแบบเปิดแผลขนาดเล็ก (minimal-access surgery) ที่คณะศัลยแพทย์ อยู่ห่างจากโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดไกลถึง 250 ไมล์ และเป็นครั้งแรกสำหรับการผ่าตัดจากระยะไกลในประเทศแคนาดา ซึ่งต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้านการแพทย์ของโลก กับความสำเร็จและความก้าวหน้าด้านสาธารณะสุข
    โดยการผ่าตัดในครั้งนั้นศัลยแพทย์ต้องควบคุมกลไก ของอุปกรณ์มือกลสามชิ้น ที่จำลองการทำงานจากการขยับของนิ้วมือศัลยแพทย์ในการผ่าตัด โดยด้านหน้าของแผงควบคุมนั้น จะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของมือกลไปทางซ้ายและขวา ตลอดจนควบคุมระบบกล้องที่จะให้ภาพที่ชัดเจนในระหว่างการผ่าตัด และตลอดระยะเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา ก็ได้มีการผ่าตัดจากระยะไกลด้วยหุ่นยนต์นี้ ในประเทศแคนาดาแล้วอีกหลายต่อหลายครั้ง และทางโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟ ก็มีแผนที่จะขยายการผ่าตัดจากระยะไกลนี้ออกไปสำหรับอีก 2 โรงพยาบาล ในพื้นที่ห่างไกลภายในสิ้นปี 2546 นี้
    สำหรับเบื้องหลังความสำเร็จของการผ่านตัดจากระยะไกลนั้น โซลูชันด้านระบบเครือข่ายที่มีความเสถียรและปลอดภัยนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยในกรณีโรงพยาบาลเซนต์โยเซฟนี้ ได้ใช้บริการด้านเครือข่ายส่วนตัวเสมือน หรือ Virtual Private Network, VPN จากบริษัทเบลล์แคนาดา ซึ่งนับว่าเป็นบริการการสื่อสารโทรคมนาคม ที่มีความปลอดภัยที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างสำนักสาขาต่างๆ ขององค์กร
    นอกจากนี้ความเสถียรและระบบสำรองของการสื่อสาร ก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากในการทำการผ่าตัดจากระยะไกลนี้ ดังนั้นคุณภาพของระบบที่จะมาใช้กับเทคโนโลยีด้านการแพทย์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสามารถควบคุมคุณภาพการให้บริการ ผ่านโครงข่ายหลักของเบลล์แคนาดาได้โดยในกรณีนี้ ได้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Multiprotocol Label Switch หรือ MPLS เพื่อที่จะรับประกันความเป็นส่วนตัว ของการเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาล ที่วิ่งอยู่บนโครงข่ายหลักของเบลล์แคนาดา ซึ่งเป็นโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ อีกทั้งยังสามารถที่จะรองรับการสลับเส้นทางในการส่งข้อมูล ในกรณีที่การเชื่อมต่อเกิดติดขัดขึ้น
    และจากการผสานกันอย่างลงตัวของการบริการด้านโครงข่ายคุณภาพสูง สำหรับงานด้านสาธารณะสุขพร้อมกับแอพพิเคชันด้านการควบคุมกลไกของแขนกล จากระยะไกลเข้าด้วยกัน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารรวมถึงเทคโนโลยีด้านไอพี ในการที่จะให้บริการสาธารณะสุขทางไกล ที่ระยะทางไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้านการแพทย์ สำหรับยุคศตวรรษที่ 21 เลยก็ว่าได้
    การใช้งานเทคโนโลยีในด้านการรักษาพยาบาล และการสาธารณะสุขในบ้านเรา ก็ได้มีการเติบโต และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ก็ได้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลประวัติคนไข้ ไปจนถึงการจ่ายยาต่างๆ ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน และคล่องตัวอย่างมาก โดยที่แพทย์ผู้ตรวจรักษา สามารถเข้าถึงข้อมูลคนไข้แบบออนไลน์ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสามารถตรวจสอบประวัติการใช้ยาของคนไข้ได้อีกด้วย
    ยิ่งไปกว่านั้นด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในการที่จะทำให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ และการรักษาพยาบาล ที่จะเปิดรับชาวต่างประเทศ เข้ามารักษาตัวในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการนำเงินตราต่างประเทศ เข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจของไทยอีกทางหนึ่ง และยังส่งผลถึงการท่องเที่ยวที่หน่วยงานหลายฝ่าย กำลังดำเนินงานในการรณรงค์ ให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าดูจากเม็ดเงินแล้ว ถือว่าการยกระดับการบริการด้านการแพทย์ และสาธารณะสุขให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และสร้างให้ประเทศไทยเราเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์นั้น ควรถือเป็นกลยุทธ์หลักอันหนึ่ง ที่ภาครัฐและเอกชน ต้องช่วยกันสำหรับก้าวที่ยิ่งใหญ่ต่อไป

    อ้างอิง
    http://khemmachai.blogspot.com/2013/02/ict-in-organization_23.html
    http://www.cisco.com/web/TH/technology/telerobotic.html
    http://informationofnursingand.blogspot.com/
    http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/lesson05/L05_his.pdf 



                       นางสาว อธิติยาพร พรมสุข นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1  รหัสนักศึกษา 57122230053